การแสดงผล
ขนาดตัวอักษร

เกี่ยวกับ สศท.

ประวัติความเป็นมา

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)

                         พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง 
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 หรือ ศ.ศ.ป. ต่อมาพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564 หรือ สศท. มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) พร้อมทั้งให้มีการปรับปรุงวัตถุประสงค์ หน้าที่ และอำนาจของสถาบัน องค์ประกอบของคณะกรรมการสถาบัน ฯ ตลอดจนบทบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของสถาบัน โดยเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลส่งเสริมและสนับสนุนศิลปหัตถกรรมไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาทิ การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการประกอบอาชีพเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยอย่างยั่งยืน การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ฯ ทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ ฯ ด้วยการเปิดและขายตลาดผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยทั้งในและต่างประเทศซึ่งตามหน้าที่สามารถจัดให้มีและบริหารแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการซื้อขายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยได้ด้วยรวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์และการขายของผลิตภัณฑ์ให้แพร่หลายสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้และวิธีบริหารจัดการวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศิลปหัตถกรรมไทย และการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย เป็นต้น

 
วิสัยทัศน์ สศท.

 “ สืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริม งานศิลปหัตถกรรมไทยทุกมิติ ให้ก้าวไกลอย่างยั่งยืน ”

อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการประกอบอาชีพเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยอย่างยั่งยืน
  • พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย รวมทั้งนำเทคโนโลยีนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยเปิดและขยายตลาดผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์และการขายของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยให้แพร่หลาย
  • ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการศิลปหัตถกรรมไทยให้มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ ด้านการผลิต การเงิน การบัญชี และการตลาด
  • สืบสาน ส่งเสริมคุณค่า ยกย่องเชิดชู รักษา พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทย
  • สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้และวิธีบริหารจัดการวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับศิลปหัตถกรรมไทย
  • จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับครูศิลปหัตถกรรมไทย ผู้ประกอบการ บุคลากรและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับศิลปหัตถกรรมไทย
  • รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการจดทะเบียนสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นของงานศิลปหัตถกรรมไทย
ค่านิยมองค์กร
S Synergy เสริมพลังสร้างคุณค่า
A Accountability จิตสำนึกในความรับผิดชอบ
C Creativity & Care มีความคิดสร้างสรรค์ และใส่ใจ ห่วงใย เต็มใจให้บริการ
I Integrity ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
T Teamwork ทีมประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

 

 

พันธกิจ สศท.

(1)  ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการประกอบอาชีพเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยอย่างยั่งยืน

(2)  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย รวมทั้งนำเทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย

(3)  ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย เปิดและขยายตลาดผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์และการขายของผลิตภัณฑ์
       ศิลปหัตถกรรมไทยให้แพร่หลาย

(4)  ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการศิลปหัตถกรรมไทยให้มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการผลิต การเงิน การบัญชี และการตลาด

(5)  สืบสาน ส่งเสริมคุณค่า ยกย่องเชิดชู รักษา พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทย

(6)  สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้และวิธีบริหารจัดการวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับศิลปหัตถกรรมไทย

(7)  จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับครูศิลปหัตถกรรมไทย ผู้ประกอบการ บุคลากร และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับศิลปหัตถกรรมไทย

(8)  รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย

(9)  ส่งเสริมและสนับสนุนการจดทะเบียนสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นของงานศิลปหัตถกรรมไทย

เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

เป้าประสงค์ที่ 1 สืบสานงานศิลปหัตถกรรมไทย ให้ได้รับการสืบสาน สืบทอด เพื่อสร้างอาชีพ เลี้ยงตัวเองได้

เป้าประสงค์ที่ 2 สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์ มีกระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เป้าประสงค์ที่ 3 ส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย และจัดการวัฒนธรรม เพื่อสร้างรายได้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทยเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ